วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

แคลเซียม แคล-ดี-แมก Cal-D-Mag

แคลเซียม แคล-ดี-แมก Cal-D-Mag


แคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่งยวดไม่แพ้สารอาหารสำคัญอื่นๆ แคลเซียมเป็นส่วนเสริมสร้างสุขภาพฟัน กระดูก รวมไปจนถึงเส้นผม เล็บ หรือแม้กระทั่งเซลล์ประสาท เนื้อเยื่อ เลือด และของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย ก็จำต้องอาศัยแคลเซียมช่วยเสริมสร้างทั้งสิ้น แม้กระทั่งภาวะความดันโลหิต แคลเซียมก็มีส่วนช่วยในเรื่องของการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง




ใน 1 วัน เราควรได้รับ แคลเซียม อย่างน้อย 800 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับนมสด 4 แก้ว การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นอีกทางที่ช่วยเสริมแคลเซียมให้เราได้ เพราะแคลเซียมไม่ได้มีเฉพาะแค่ในนมเท่านั้น แต่ยังพบในปลาเล็กปลาน้อย ถั่วเหลือง กะปิ และผักใบเขียว
       
       ในวัยเด็ก แคลเซียมมีบทบาทอย่างยิ่งยวดต่อการเจริญเติบโตด้านกายภาพ โดยเฉพาะช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น กระดูกจะเติบโตในอัตราที่รวดเร็ว สังเกตว่าหากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนใส่ใจและพยายามให้ลูกกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม อาทิ นม ก็จะพบว่าลูกมักจะเติบโตและมีความสูงกว่าเพื่อนๆ วัยเดียวกัน
       
       นอกจากนี้ ในการทำงานของร่างกายในมิติอื่นๆ ยังพบอีกด้วย ร่างกายมีความต้องการแคลเซียมเพื่อการทำงานของระบบต่างๆ เช่น การส่งเสริมการทำงานของกระแสประสาท การทำงานของกล้ามเนื้อ การเต้นตามปกติของหัวใจ การกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน และการกระตุ้นปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ต่างๆ
       
    

ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอนั้น จะส่งผลร้ายในระยะยาวคือความเสี่ยงต่อ "ภาวะกระดูกพรุน" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนไทยบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็คือ การกินอาหารซ้ำ การกินอาหารที่ไม่หลากหลาย และนี่อาจจะเป็นปัจจัยที่อธิบายได้ว่าเหตุใดประชากรในวัยผู้ใหญ่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ จึงบริโภคแคลเซียมต่ำ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเพราะความเร่งรีบอันเป็นวิถีชีวิตประจำวันจนทำให้ "เอาง่ายเข้าว่า" หลายคนฝากท้องไว้กับร้านอาหารประจำที่ทำแต่เมนูเดิมๆ จำพวก ผัดกระเพรา ไข่เจียว ไข่ดาว หมูทอด แกงไก่ ฯลฯ กินซ้ำไปซ้ำมา และในแต่ละวันก็ยุ่งเกินกว่าจะออกไปหาอาหารดีๆ มีประโยชน์ให้ร่างกาย


สั่งซื้อ : ติดต่อ คุณจอย

โทร . 091-887-8648
ไลน์ . enjoygiff



วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558



กิฟฟารีน แคลซีน แคลเซียมแบบเม็ดเคี้ยว มีหลายกลิ่นให้เลือก


กิฟฟารีน แคลซีน มี รสนม รสโกโก้ รสส้ม และ รสสตอเบอรี่



กิฟฟารีน แคลซีน มิลค์แคลซีน
Giffarine Calcine (Milk)

เม็ดอมรสนม


วิธีรับประทาน
เด็กก่อนวัยปีทอง ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน 
เด็กวัยปีทอง ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน
ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน
สตรีวัยหมดประจำเดือน ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน

หมายเหตุ ปริมาณดังกล่าวอาจปรับลดขนาด ถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารอื่น

กิฟฟารีน..ขอเป็นกำลังใจให้เด็กไทย และคุณพ่อ-คุณแม่ ผู้ใส่ใจในการเลือกสรรสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อลูกรัก

ฆอ. 3104/2553

ขนาด 100 เม็ด
ราคาขาย 180 บาท

ราคาสมาชิก 135 บาท


กิฟฟารีน แคลซีน โกโก้แคลซีน
Giffarine Calcine (Coco)

เม็ดอมรสนม กลิ่นโกโก้


วิธีรับประทาน
เด็กก่อนวัยปีทอง ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน 
เด็กวัยปีทอง ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน
ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน
สตรีวัยหมดประจำเดือน ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน

หมายเหตุ ปริมาณดังกล่าวอาจปรับลดขนาด ถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารอื่น

กิฟฟารีน..ขอเป็นกำลังใจให้เด็กไทย และคุณพ่อ-คุณแม่ ผู้ใส่ใจในการเลือกสรรสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อลูกรัก

ฆอ. 3104/2553

ขนาด 100 เม็ด
ราคาขาย 180 บาท

ราคาสมาชิก 135 บาท


กิฟฟารีน แคลซีน ออเรนจ์เฟลเวอร์แคลซีน
Giffarine Calcine (Orange)

เม็ดอมรสนม กลิ่นส้ม


วิธีรับประทาน
เด็กก่อนวัยปีทอง ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน 
เด็กวัยปีทอง ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน
ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน
สตรีวัยหมดประจำเดือน ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน

หมายเหตุ ปริมาณดังกล่าวอาจปรับลดขนาด ถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารอื่น

กิฟฟารีน..ขอเป็นกำลังใจให้เด็กไทย และคุณพ่อ-คุณแม่ ผู้ใส่ใจในการเลือกสรรสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อลูกรัก

ฆอ. 3104/2553

ขนาด 100 เม็ด
ราคาขาย 180 บาท

ราคาสมาชิก 135 บาท


กิฟฟารีน แคลซีน สตรอเบอรี่เฟลเวอร์แคลซีน
Giffarine Calcine (Strawberry)

เม็ดอมรสนม กลิ่นสตรอเบอรี่


สั่งซื้อ : Tel.091-887-8648              Line. enjoygiff

ด็กวัยปีทอง> คือ ช่วงอายุหนึ่งของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง 
ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ 
เด็กหญิง อยู่ในช่วงอายุ 9 - 13 ปี 
เด็กชาย อยู่ในช่วงอายุ 10 - 16 ปี  
เด็กช่วงวัยปีทองนี้ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ 
จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6-11 ซม.ค่ะ





เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "แคลเซียม" สำหรับเด็ก

HEALTH NEWS
หน้าที่สำคัญของแคลเซี่ยม 
1.  เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกหักง่าย หลังโก่งงอ กระดูกเรียงผิดรูป หรือฟันโยกหลุดง่าย
2.  ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
3.  ป้องกันการปวดเกร็งในช่องท้องในผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน
4.  ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ และอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า
5.  ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้านความยาว และความแข็งแรงของเด็กในวัยเจริญเติบโต

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแคลเซี่ยม
1. แคลเซี่ยม จำเป็นต่อการเติบโตของกระดูก และเรื่องของความสูงหรือไม่ ? 
    คำตอบคือ จำเป็นครับเพราะแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสคือ แร่ธาตุหลักของกระดูก " เมื่อมีการขาดแคลเซี่ยมในระยะเติบโต ทำให้แคลเซี่ยมจากกระดูกถูกดึงออกมาใช้ภายนอกเซลล์ เพื่อช่วยในการปรับสภาพอิเลคโตรไลต์ของร่างกายให้สมดุลย์ ปริมาณแคลเซี่ยมในกระดูกจึงยิ่งลดลง มีผลทำให้การเติบโตด้านความสูงของเด็กหยุดชะงักได้ "

2. ความสูงขึ้นอยู่กับแคลเซียมเท่านั้นหรือ ? 
     คำตอบคือ ไม่ใช่ครับแคลเซี่ยมจำเป็นต่อกระดูกเหมือนแสงแดดจำเป็นต่อต้นไม้ แต่ต้นไม้ไม่ได้ต้องการแสงแดด เพียงอย่างเดียวครับ ต้นไม้ต้องการ ปุ๋ย ดิน น้ำ ด้วย ปัจจัยที่ช่วยให้สูงได้ไม่ใช่แคลเซียมอย่างเดียว มีหลายอย่างที่สำคัญ มีดังนี้
     2.1 อายุ 
          - เด็กสาว จะหยุดสูงเมื่ออายุกระดูก 16 ปีโดยประมาณ หลังจากมีประจำเดือนแล้ว 3 ปี (โดยปกติเด็กสาวจะมีเต้านมก่อน จากนั้นอีกประมาณ 2 ปีจึงจะมีประจำเดือน) ในกรณีที่เด็กสาวมีประจำเดือนเร็ว อาจสูงได้อีก 5-7 ซ.ม. และหยุดสูง หลังจากมีประจำเดือนแล้วประมาณ 3 ปี
          - เด็กชาย มักจะหยุดสูงเมื่ออายุกระดูก 18 ปี คือประมาณ 3 ปี หลังจากเสียงแตก
          - อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กสาวมีอายุ 16 ปี และเด็กชายมีอายุ 18 ปี อาจจะสูงเพิ่มได้อีกประมาณ 1-2 ซ.ม (Spinal Column Growth) แล้วจะหยุดสูงโดยสิ้นเชิง
     2.2 พันธุกรรม ยีนจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย จะมีผลต่อพันธุกรรมความสูงของเด็กความผิดปกติทางโครโมโซมก็มีผลที่ทำให้เด็กตัวเตี้ยได้
     2.3 โภชนาการ การได้รับอาหารที่เหมาะสมทั้งพลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และที่สำคัญเป็นหลักของกระดูกคือ แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่เพียงพอ
     2.4 การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
     2.5 เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่นจะเจริญเติบโตได้ดี

3. แคลเซี่ยม ช่วยเร่งให้ร่างกายสูงเร็วจริงหรือ ? 
     คำตอบคือ ไม่ใช่ครับแต่การขาดแคลเซี่ยมที่ผลทำให้ความสูงหยุดชะงักดังกล่าว ควรได้รับแคลเซี่ยมที่เพียงพอ เมื่อประกอบกับปัจจัย อื่นๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายสูงเต็มที่มากที่สุด ตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นครับ

4. เราต้องการแคลเซี่ยมเท่าใด ? 
     คำตอบคือ ตามมาตรฐานคนไทยกระทรวงสาธารณสุขได้วางข้อกำหนดไว้ ดังนี้ 


    วัย                               ปริมาณแคลเซียมต่อวัน (มก.)
   เด็กเล็ก 1 -6 ปี                     800
   เด็กวัยรุ่น                           1200
   สตรีหมดประจำเดือน         1200
   สตรีมีครรภ์ให้นมบุตร        1200
   ผู้ใหญ่                                 800


5. คนไทยได้แคลเซี่ยมจากอาหารที่รับประทานอยู่เพียงพอหรือยัง ? 
     ในส่วนตัวคิดว่า ไม่เพียงพอ เพราะมีการศึกษาวิจัยดังนี้ กองวิเคราะห์อาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ศึกษาวิเคราะห์แร่ธาตุจากอาหารทุกภาคในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างอาหารที่ทานเป็นประจำของภาค
นั้น ๆ ผลวิเคราะห์เป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละวัน  ผลการวิเคราะห์แคลเซี่ยมมีดังนี้
    
แคลเซี่ยมในอาหารที่คนไทยในแต่ละภาคได้รับ (มก. / วัน)
ภาคเหนือ 251.8  ภาคอีสาน 194.8  ภาคกลาง 156  ภาคใต้ 173  เฉลี่ย  195.6
จะเห็นว่าเป็นค่าที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการของ คนไทย คือ 800 มก./วัน 
     ยังมีการวิจัยในคนกรุงเทพ ฯ โดยสุ่มในประชากร 396 คน พบว่า แม้ในคนกรุงเทพ ณ ซึ่งนับว่ามีโภชนาการที่ดีพอสมควร ก็ยังได้รับแคลเซี่ยมเฉลี่ยเพียง 361 มก./วัน โดยมีถึง 67 % ได้รับแคลเซี่ยมน้อยกว่า 400 มก./วัน 31% ได้
แคลเซี่ยม 400-800 มก./วัน มีเพียง 2 % ที่ได้แคลเซียมเกิน 800 มก./วัน
     แคลเซี่ยมที่ดูดซึมได้ดี เรียกว่ามีค่า Bioavalabilty สูงที่สุดได้แก่ แคลเซี่ยมคาร์บอเนตซึ่งดูดซึมได้ 40 % สิ่งที่จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซี่ยมได้แก่ วิตามินดี 3 ซึ่เราอาจจะได้รับจากอาหารและแสงแดด ภาวะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร น้ำตาลแลคโตสและกรดแอมมิโนในนม

     สารที่ลดการดูดซึมแคลเซี่ยม ได้แก่ แอลกอฮอล์ กาแฟ ยาขับปัสสาวะ ยาพวกเตรตร้าไซคลิน ยอลดกรดในอาหาร นอกจากนี้กรดออกซาลิก และกรดไฟติคในพืชผัก สามารถจับแคลเซี่ยม และ ลดการดูดซึมได้ กรดไฟติคจะอยู่ในรูปของเกลือไฟเตท ซึ่งสามารถจะจับกับแร่ธาตุได้ ที่มีการศึกษา อาหารที่มีไฟเตทมากดังกล่าว ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวดำ ลูกเดือย เมล็ดแตงโมแห้ง งาดำ งาขาว ถั่วเหลือง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว

6. ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอ จะเกิดอะไรขึ้น ? 
     ในเด็กที่ต้องการแต่ได้รับไม่พอ ก็มีผลทำให้ไม่สูงความสูงหยุดชะงักได้ ส่วนผู้ใหญ่ก็จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากแหล่งที่มีแคลเซียมที่ดีทีสุดคือนม และผู้ใหญ่บ้านเราไม่มีนิสัยกินนมเหมือนฝรั่ง จึงมีปัญหาทางกระดูกกันมาก ส่วนมากจะพบว่าคนแก่จะหลังโกง กระดูกหักง่าย ยุบง่ายเพราะเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง

7. โรคกระดูกพรุน คืออะไร ? 
    โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis ) มีลักษณะดังนี้ 
อาการโรค 
เป็นมากในหญิงวัยกลางคน วัยหมดประจำเดือน (Menopause) และวัยสูงอายุ กระดูกจะบางลงและเปราะ กระดูกหักง่ายแม้ว่า ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง หรือมีอาการปวดบริเวณสะโพก ปวดหลัง ตัวเตี้ยลง หลังโค้งงอ เนื่องจากกระดูกสันหลังอ่อนแอ กระดูกยุบตัวเข้าหากัน หญิงวัยสาว ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน 
สาเหตุ 
ร่างกายสูญเสียแคลเซี่ยมจากกระดูก มากกว่าที่ได้รับเข้าไปสะสม ในกระดูก คือ เกิดการสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าที่จะสร้างใหม่ ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง สาเหตุเกิดจากเสียความสมดุล ในการทำงานของเซลล์กระดูก 2 ชนิด คือ Osteoclast ซึ่งทำหน้าที่ สลายกระดูก ปลดปล่อยแคลเซี่ยมจากกระดูกเข้าสู่กระแสโลหิต และเซลล์ Osteoblast ซึ่งทำหน้าที่สร้างกระดูกและนำแคลเซี่ยมเข้ามา สะสมในกระดูก กล่าวคือเป็นในช่วงที่ร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิง 
เอสโตรเจน เพราะปกติเอสโตรเจนจะช่วยชะลอการสูญเสีย มวลกระดูก

8. อาหารที่ควรบริโภค 
1. อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์นม 
2. อาหารที่มีวิตามิน ดี สูง ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ไข่ โดยเฉพาะไข่แดง และควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเวลาเช้าและเย็น 

อาหารที่ไม่ควรบริโภค 
1. อาหารที่มีสารไฟเทตสูง ซึ่งขัดขวางการดูดซึม แคลเซียม ได้แก่ รำข้าว ข้าวกล้อง ถั่วเปลือก แข็ง เป็นต้น 
2. อาหารที่มีสารออกซาเลต ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารน้อยลง ได้แก่ ผักปวยเล้ง ผักกระโดน ผักติ้ว ผักแพว 
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ 
4. เครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกจากกระแสโลหิต 
5. การบริโภคเกลือมากเกินไป จะทำให้ร่างกาย สูญเสียแคลเซียมมากขึ้นได้

     นอกจากนี้การสูบบุหรี่ จะเพิ่มการสูญเสียแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ และการกินยาเพรดนิโซโลน Prednisolone และ ยา Cortico-steroid อื่น ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกระดูกได้

9. รับประทานแคลเซี่ยมมาก ๆ นาน ๆ จะอันตรายหรือไม่ ?
    ไม่อันตรายเลย ถ้าไม่เกินความต้องการประจำวัน (RDI) เช่น ไม่เกิน 800 มก./วัน ในผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 1 ปี หรือไม่เกิน 1200 มก./วัน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร หรือสตรีวัยหมดประจำเดือน ไม่มีอันตรายครับ ไม่มีรายงานว่าจะเป็นนิ่ว หรือกระดูกงอก หรืออันตรายอื่นๆใดเลย ยกเว้นผู้เป็นโรคไตวายเท่านั้นต้องระวัง เพราะคนเป็นโรคไตวาย มักจะต้องจำกัดอาหารฟอสฟอรัส อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงจำนวนมากจะมีฟอสฟอรัสสูงด้วย เช่น นม ซึ่งคนเป็นโรคไตวายควรหลีกเลี่ยงครับ
    การได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณน้อยกว่า 2000 มก. ถือว่าปลอดภัย สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั่วไป ถ้าในปริมาณที่มากกว่า 2000 มก./วัน ถือว่าไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับเช่นนี้ต่อเนื่องหลายๆวัน ติดๆกัน โดยจะทำให้ท้องผูกและอาจทำให้เป็นนิ่วในไตหรือในระบบปัสสาวะได้ 

ดูแลคนที่คุณรัก ด้วยกิฟฟารีนแคลซีน ด้วยแคลเซี่ยมทุกวัน



สั่งซื้อได้ที่กิฟฟารีนทุกสาขา หรือ โทร 1101 เพียงแจ้งรหัส 059019206 สามารถซื้อได้ในราคาสมาชิกค่ะ

ติดต่อแอดมินโดยตรง 
โทร. 081-887-8648 / ID line : enjoygiff

บริการสมัครสมาชิก http://bit.ly/1NLmM6L